กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติภาคธุรกิจ
เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น นอกจากกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งใช้ในภาวะปกติจะไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ตามที่เคยเป็นแล้ว ภาคธุรกิจยังจำต้องนำหรือพัฒนากลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉินขึ้นมาใช้เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติในห้วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติดังกล่าวด้วย
กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติจะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละระยะ ซึ่งโดยทั่วไปจะจำแนกออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงสั้นๆ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในช่วงกลาง และกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในระยะยาว
ในเอกสารของ International Business Leaders Forum (IBLF) ชื่อ “Disaster Management and Planning: an IBLF framework for Business Response” ได้ให้แนวทางในการรับมือภัยพิบัติทั้งสามระยะไว้ ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า การช่วยเหลือ (Rescue) – การบรรเทาทุกข์ (Relief) – การฟื้นฟู (Recovery)
กลยุทธ์การช่วยเหลือ (Rescue) จะเกิดขึ้นโดยทันทีหลังการเกิดภัยพิบัติและทอดระยะเวลาไปได้หลายวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จุดมุ่งเน้นอยู่ที่การช่วยเหลือคนเจ็บ ผู้ที่ติดค้าง หรือที่ถูกลอยแพ รวมทั้งการระบุตำแหน่งของผู้เสียชีวิต การปรับสภาพของจุดประสบเหตุให้มีความปลอดภัยต่อการเข้าช่วยเหลือ การเข้าสำรวจจุดหรือตำแหน่งของพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือ การเตรียมปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการเร่งด่วน อาทิ น้ำดื่ม อาหาร เวชภัณฑ์ ที่พักพิง ฯลฯ รวมถึงการติดต่อกับครอบครัว การแจ้งข่าวแก่ญาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การบรรเทาทุกข์ (Relief) ในระยะต่อมา จะมุ่งเน้นที่การประเมินความเสียหาย และการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการยังชีพ ไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของทางการและที่เป็นสากล อาทิ การผลิตน้ำบริสุทธิ์ การอนามัยอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การจัดศูนย์ดูแลและพักพิง โดยการดำเนินงานในระยะนี้ ยังรวมถึงการจัดหาการติดต่อสื่อสาร โลจิสติกส์ การช่วยเหลือซ่อมแซมสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลที่ขาดความช่วยเหลือ การรวบรวมข่าวสารสำคัญด้านประชากร ความเสียหาย ความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนสถานการณ์โดยรวม
กลยุทธ์การฟื้นฟู (Recovery) ในระยะยาว จะมุ่งเน้นที่การซ่อมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย การฟื้นสภาพความเป็นอยู่ให้กลับเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติ รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งท้าทายสำคัญของกลยุทธ์การฟื้นฟูในการที่จะคงสภาพการดำรงอยู่ของครัวเรือน นักธุรกิจขนาดเล็ก และแรงงานในโรงงานให้ดำเนินต่อไปได้ คือ การเชื่อมโยงไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระยะยาวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การดำเนินกลยุทธ์ในช่วงสั้นและช่วงกลางจะมีส่วนสำคัญต่อการรับมือยามเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินและเมื่อมีความต้องการด้านมนุษยธรรม ส่วนการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่บรรดาธุรกิจจะต้องดำเนินตามในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะฉุกเฉินและความต้องการด้านมนุษยธรรม กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ให้กลับเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเสถียรภาพ การเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาว ยังได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นด้านทักษะและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญบนเส้นทางในช่วงการพัฒนาใหม่ๆ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทของภาคธุรกิจในแต่ละระยะจึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับการทำธุรกิจตามปกติเท่านั้น แต่การดำเนินบทบาทเหล่านี้ยังสามารถนำไปสู่การสนับสนุน (และชี้นำ) การทำงานขององค์กรในหลายขั้นตอน จากบทเรียนภัยพิบัติในอดีต ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการวางแผนรับมือภัยพิบัติในอนาคต การตระเตรียมบทบาททางธุรกิจเฉพาะสาขาต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติ การกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
[Original Link]
กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติจะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละระยะ ซึ่งโดยทั่วไปจะจำแนกออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงสั้นๆ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในช่วงกลาง และกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในระยะยาว
ในเอกสารของ International Business Leaders Forum (IBLF) ชื่อ “Disaster Management and Planning: an IBLF framework for Business Response” ได้ให้แนวทางในการรับมือภัยพิบัติทั้งสามระยะไว้ ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า การช่วยเหลือ (Rescue) – การบรรเทาทุกข์ (Relief) – การฟื้นฟู (Recovery)
กลยุทธ์การช่วยเหลือ (Rescue) จะเกิดขึ้นโดยทันทีหลังการเกิดภัยพิบัติและทอดระยะเวลาไปได้หลายวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จุดมุ่งเน้นอยู่ที่การช่วยเหลือคนเจ็บ ผู้ที่ติดค้าง หรือที่ถูกลอยแพ รวมทั้งการระบุตำแหน่งของผู้เสียชีวิต การปรับสภาพของจุดประสบเหตุให้มีความปลอดภัยต่อการเข้าช่วยเหลือ การเข้าสำรวจจุดหรือตำแหน่งของพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือ การเตรียมปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการเร่งด่วน อาทิ น้ำดื่ม อาหาร เวชภัณฑ์ ที่พักพิง ฯลฯ รวมถึงการติดต่อกับครอบครัว การแจ้งข่าวแก่ญาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การบรรเทาทุกข์ (Relief) ในระยะต่อมา จะมุ่งเน้นที่การประเมินความเสียหาย และการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการยังชีพ ไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของทางการและที่เป็นสากล อาทิ การผลิตน้ำบริสุทธิ์ การอนามัยอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การจัดศูนย์ดูแลและพักพิง โดยการดำเนินงานในระยะนี้ ยังรวมถึงการจัดหาการติดต่อสื่อสาร โลจิสติกส์ การช่วยเหลือซ่อมแซมสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลที่ขาดความช่วยเหลือ การรวบรวมข่าวสารสำคัญด้านประชากร ความเสียหาย ความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนสถานการณ์โดยรวม
กลยุทธ์การฟื้นฟู (Recovery) ในระยะยาว จะมุ่งเน้นที่การซ่อมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย การฟื้นสภาพความเป็นอยู่ให้กลับเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติ รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งท้าทายสำคัญของกลยุทธ์การฟื้นฟูในการที่จะคงสภาพการดำรงอยู่ของครัวเรือน นักธุรกิจขนาดเล็ก และแรงงานในโรงงานให้ดำเนินต่อไปได้ คือ การเชื่อมโยงไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระยะยาวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การดำเนินกลยุทธ์ในช่วงสั้นและช่วงกลางจะมีส่วนสำคัญต่อการรับมือยามเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินและเมื่อมีความต้องการด้านมนุษยธรรม ส่วนการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่บรรดาธุรกิจจะต้องดำเนินตามในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะฉุกเฉินและความต้องการด้านมนุษยธรรม กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ให้กลับเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเสถียรภาพ การเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาว ยังได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นด้านทักษะและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญบนเส้นทางในช่วงการพัฒนาใหม่ๆ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทของภาคธุรกิจในแต่ละระยะจึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับการทำธุรกิจตามปกติเท่านั้น แต่การดำเนินบทบาทเหล่านี้ยังสามารถนำไปสู่การสนับสนุน (และชี้นำ) การทำงานขององค์กรในหลายขั้นตอน จากบทเรียนภัยพิบัติในอดีต ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการวางแผนรับมือภัยพิบัติในอนาคต การตระเตรียมบทบาททางธุรกิจเฉพาะสาขาต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติ การกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
[Original Link]