ภาพรวม: การรับมือภัยพิบัติ
เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น นอกจากกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งใช้ในภาวะปกติจะไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ตามที่เคยเป็นแล้ว ภาคธุรกิจยังจำต้องนำหรือพัฒนากลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉินขึ้นมาใช้เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติในห้วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติดังกล่าวด้วย
กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติจะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละระยะ ซึ่งโดยทั่วไปจะจำแนกออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงสั้นๆ ได้แก่ การช่วยเหลือ (Rescue) กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในช่วงกลาง ได้แก่ การบรรเทาทุกข์ (Relief) และกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในระยะยาว ได้แก่ การฟื้นฟู (Recovery)
การดำเนินกลยุทธ์ในช่วงสั้นและช่วงกลางจะมีส่วนสำคัญต่อการรับมือยามเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินและเมื่อมีความต้องการด้านมนุษยธรรม ส่วนการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่บรรดาธุรกิจจะต้องดำเนินตามในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะฉุกเฉินและความต้องการด้านมนุษยธรรม กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ให้กลับเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเสถียรภาพ การเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาว ยังได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นด้านทักษะและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญบนเส้นทางในช่วงการพัฒนาใหม่ๆ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทของภาคธุรกิจในแต่ละระยะจึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับการทำธุรกิจตามปกติเท่านั้น แต่การดำเนินบทบาทเหล่านี้ยังสามารถนำไปสู่การสนับสนุน (และชี้นำ) การทำงานขององค์กรในหลายขั้นตอน จากบทเรียนภัยพิบัติในอดีต ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการวางแผนรับมือภัยพิบัติในอนาคต การตระเตรียมบทบาททางธุรกิจเฉพาะสาขาต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติ การกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติจะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละระยะ ซึ่งโดยทั่วไปจะจำแนกออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงสั้นๆ ได้แก่ การช่วยเหลือ (Rescue) กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในช่วงกลาง ได้แก่ การบรรเทาทุกข์ (Relief) และกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในระยะยาว ได้แก่ การฟื้นฟู (Recovery)
การดำเนินกลยุทธ์ในช่วงสั้นและช่วงกลางจะมีส่วนสำคัญต่อการรับมือยามเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินและเมื่อมีความต้องการด้านมนุษยธรรม ส่วนการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่บรรดาธุรกิจจะต้องดำเนินตามในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะฉุกเฉินและความต้องการด้านมนุษยธรรม กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ให้กลับเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเสถียรภาพ การเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาว ยังได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นด้านทักษะและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญบนเส้นทางในช่วงการพัฒนาใหม่ๆ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทของภาคธุรกิจในแต่ละระยะจึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับการทำธุรกิจตามปกติเท่านั้น แต่การดำเนินบทบาทเหล่านี้ยังสามารถนำไปสู่การสนับสนุน (และชี้นำ) การทำงานขององค์กรในหลายขั้นตอน จากบทเรียนภัยพิบัติในอดีต ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการวางแผนรับมือภัยพิบัติในอนาคต การตระเตรียมบทบาททางธุรกิจเฉพาะสาขาต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติ การกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน