ไทยพัฒน์ผุด Thai DRN ศูนย์กลางความรู้ สู้ภัยพิบัติ


ความถี่และผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นและเกิดบ่อยครั้งขึ้นทั่วโลก ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล ในประเทศไทย ภัยจากคลื่นสึนามิเมื่อปี 2547 ใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวมากกว่า 30,000 ล้านบาท ส่วนสถานการณ์อุทกภัยในปีที่แล้วได้ สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าสูงถึง 16,339 ล้านบาท

ในปีนี้ สถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งสิ้น 64 จังหวัด โดยมีการประเมินตัวเลขความ เสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวนนับแสนล้านบาท ซึ่งผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ จำต้องได้รับการฟื้นฟูเยียวยา และทำให้การ ดำรงชีวิตและการทำงานกลับคืนสู่สภาพปกติ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

ภาคธุรกิจเอกชนถือเป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่มีส่วนในการช่วยเหลือ การบรรเทาทุกข์ และการฟื้นฟูหลังการเกิดภัยพิบัติ โดยในต่างประเทศ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือของภาคเอกชนต่อการ รับมือกับภัยพิบัติในลักษณะของการทำงาน วิถีกลุ่ม (Collective Action) เพื่อเสริม พลังของการช่วยเหลือ การบรรเทาทุกข์ และ การฟื้นฟูจากภัยพิบัติที่มีความรุนแรงและ ส่งผลเสียหายในวงกว้าง ที่ซึ่งทรัพยากรขององค์กรใดองค์กรเดียวไม่สามารถใช้ให้เกิดผลได้เพียงลำพัง

ทั้งนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะองค์กรที่ทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับภาคธุรกิจเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2548 ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติและการฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยพิบัติ ที่ภาคเอกชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยการทำงานในแบบกลุ่มความร่วมมือ และจำต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความ รู้ กรณีศึกษา และบทเรียนการจัดการ ภัยพิบัติในอดีตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการ เรียนรู้และต่อยอดการทำงาน ที่ทำให้ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ดังนั้น จึงได้พัฒนาข่ายงานทรัพยากรภัยพิบัติ สำหรับภาคเอกชน ในชื่อ Thai DRN เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและทรัพยากรสนับสนุนการทำงานของภาคเอกชนในการจัดการภัยพิบัติและ การฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยพิบัติ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวย การสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชน บทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงการเปิดตัวข่ายงานทรัพยากร ภัยพิบัติว่า จากการที่สถาบันได้ขับเคลื่อน งานด้าน CSR ร่วมกับภาคธุรกิจภายใต้เครือข่าย Thai CSR มาโดยตลอด เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีชุดข้อมูลและ องค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการดำเนินความ รับผิดชอบต่อสังคมในสถานการณ์ฉุกเฉิน และไม่ปกติ รวมทั้งความจำเป็นของการมีกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่มีประสิทธิผล สำหรับตอบสนองต่อเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ ซึ่งต่างจากกลยุทธ์ CSR ที่ใช้ในสถานการณ์ปกติ

“Thai DRN เป็นเสมือนแหล่งข้อมูล ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในเวอร์ชั่น พิเศษ เพื่อใช้สนับสนุนการทำงานของภาคเอกชนในสถานการณ์ภัยพิบัติ ขณะที่ Thai CSR จะทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อน CSR ในสถานการณ์ปกติ ซึ่งก็ได้ดำเนินงานเข้ามาสู่ปีที่ 7 แล้ว”

นอกจากเครือข่าย Thai DRN จะทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลความรู้และเครื่อง มือด้านการดำเนินงานฟื้นฟูบูรณะให้แก่ภาคเอกชนแล้ว การสนับสนุนการทำงาน ของ Thai DRN จะใช้แนวทาง “Build Back Better” เพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการ ฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยพิบัติ และจะส่งเสริมผลสำเร็จของภาคเอกชนในกระบวน การฟื้นฟูบูรณะชุมชนที่ประสบภัยพิบัติ ด้วยการสร้างผลกระทบเชิงบวกที่เห็นชัดและวัดได้ โดยคำนึงถึงการดำเนินผ่านกระบวนงานหลักขององค์กร และประเด็น ด้านความยั่งยืน ที่มีตัวชี้วัดครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำมาจากกรอบการรายงานสากลของ GRI มาใช้เป็นแนวทางในการกำกับการสนับสนุนการทำงาน

“สำหรับภาคเอกชนที่สนใจนำเครื่อง มือเผชิญภัยพิบัติมาใช้สำหรับองค์กร ตั้งแต่เครื่องมือการลดความเสี่ยง (Risk Mitigation) เครื่องมือการเผชิญเหตุ (Response) เครื่องมือการฟื้นฟู (Recovery) และเครื่องมือการสื่อสาร (Communications) โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ข่ายงานทรัพยากรภัยพิบัติที่ www.thaiDRN.com ผอ.สถาบันไทยพัฒน์” กล่าวทิ้งท้าย


[Original Link]