ประโยชน์ที่ภาคธุรกิจจะได้รับในวงจรรับมือภัยพิบัติ
จากผลพวงของสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย นับตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 54 ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนใน 65 จังหวัด หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ ทำให้ทุกฝ่ายต้องดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยากันจนสถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
หากจะประเมินบทบาทของภาคธุรกิจ ในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของสังคม ที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากจะเป็นการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้ว ยังมีบทบาทการอาสาของพนักงานจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้วงเวลาที่เกิดอุทกภัย
เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้น ภาคธุรกิจเอกชนจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) ซึ่งจะทอดระยะเวลา 1-3 ปี นั่นหมายความว่า บริษัทต่างๆ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยครั้งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูอย่างถ้วนทั่วไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ
ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในรูปแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าต้นทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้
นอกจากนี้ ในเอกสารของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ยังได้ประมวลประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่ช่วงการเตรียมพร้อม (Preparedness) การบรรเทาทุกข์ (Relief) การฟื้นฟู (Recovery) และการบูรณะ (Reconstruction) ไว้ดังนี้
หากจะประเมินบทบาทของภาคธุรกิจ ในฐานะหนึ่งในภาคส่วนที่สำคัญของสังคม ที่สามารถระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ และฟื้นฟูหลังการเกิดอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนอกจากจะเป็นการมอบเงินบริจาค อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันเป็นหลักพันล้านบาทในชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้ว ยังมีบทบาทการอาสาของพนักงานจากองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่เข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งในระหว่างและหลังประสบภัยน้ำท่วม ร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคม รวมทั้งทหารจากทุกเหล่าทัพ ตลอดห้วงเวลาที่เกิดอุทกภัย
เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้น ภาคธุรกิจเอกชนจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในช่วงฟื้นฟู (Recovery) ซึ่งจะทอดระยะเวลา 1-3 ปี นั่นหมายความว่า บริษัทต่างๆ ทั้งที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยครั้งนี้ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการฟื้นฟูอย่างถ้วนทั่วไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการ
ในรายงานของ World Economic Forum (Disaster Resource Partnership: A New Private-Public Partnership Model for Disaster Response, November 2010) ได้ประมวลลักษณะการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมทางธุรกิจทั้งในรูปแบบที่ไม่คิดมูลค่า (Pro Bono) หรือคิดเท่าต้นทุน (At Cost) หรือแสวงหากำไร (For Profit) ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ ไว้ดังนี้
กิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่คิดมูลค่า หรือคิดเท่าต้นทุน หรือแสวงหากำไร ในแต่ละระยะหลังภัยพิบัติ
นอกจากนี้ ในเอกสารของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ยังได้ประมวลประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่ช่วงการเตรียมพร้อม (Preparedness) การบรรเทาทุกข์ (Relief) การฟื้นฟู (Recovery) และการบูรณะ (Reconstruction) ไว้ดังนี้
ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับในแต่ละระยะของการรับมือภัยพิบัติ
การเตรียมพร้อม (Preparedness) | การบรรเทาทุกข์ (Relief) | การฟื้นฟู (Recovery) | การบูรณะ (Reconstruction) | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
|